Drugs.in.th

Menu
  • โรคที่พบบ่อยและเคล็ดลับสุขภาพ
  • สุขภาพผิวและความงาม
  • การลดน้ำหนัก
  • การออกกำลังกาย
  • ยารักษาโรค
  • อาหารเสริมและสมุนไพร
  • การตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก
  • ประกันภัย
  • เกี่ยวกับเราและข้อมูลการติดต่อ
    • นโยบายความเป็นส่วนตัว
    • ข้อกำหนดและเงื่อนไข
    • ข้อปฏิเสธความรับผิด
การตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก

คุณแม่มือใหม่ ควรทำอย่างไรเมื่ออยากตั้งครรภ์ ข้อควรรู้ก่อนตั้งครรภ์

Drugs พฤศจิกายน 29, 2017

สำหรับคุณแม่ทุก ๆ ท่าน การตั้งครรภ์ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งของชีวิต การที่จะมีชีวิตน้อย ๆ เพิ่มอีกหนึ่งชีวิตนั้น ต้องการการดูแลเอาใจใส่จากคุณแม่เป็นอย่างมาก ซึ่งความเอาใจใส่นั้น ควรเริ่มตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับคุณแม่และครอบครัว ให้เตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น

ปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มตั้งครรภ์

มีคำแนะนำจากสูตินรีแพทย์ว่า ถ้าคุณพ่อคุณแม่พร้อมที่จะมีเจ้าตัวน้อย ก็ควรที่จะเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ สัก 6 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ ตั้งแต่คำแนะนำในการปฏิบัติตัว การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม รวมถึงคำแนะนำในด้านโภชนาการ

ซึ่งการตรวจสุขภาพเบื้องต้น อาจมีการตรวจวัดน้ำหนัก ความดันโลหิน ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด รวมถึงโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่คุณแม่อาจกำลังเป็นไม่รู้ตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง โรคไทรอยด์ รวมถึงโรคที่ส่งผ่านทางพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย ซึ่งในกรณีนี้ ทั้งคุณแม่และคุณพ่อควรได้รับการตรวจหายีนที่มีความผิดปกติ

นอกจากนี้โรคติดเชื้อบางชนิด เช่น หนองใน หรือซิฟิลิส ยังมีผลต่อทารกในครรภ์ คุณแม่ควรได้รับการตรวจอย่างละเอียด เพื่อทำให้แน่ใจว่า ลูกน้อยในครรภ์จะปลอดภัยจากเชื้อโรคเหล่านี้

เรื่องโภชนาการ สารอาหาร วิตามิน และยา เป็นสิ่งที่คุณแม่ควรนึกถึงเสมอ

คุณแม่ควรเริ่มศึกษาเรื่องโภชนาการในระหว่างตั้งครรภ์ และอาจขอรับคำปรึกษาได้จากแพทย์หรือนักโภชนาการ โดยหญิงที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ มีความต้องการสารอาหารบางชนิดเพิ่มขึ้น การขาดสารอาหารบางประเภท อาจส่งผลต่อความสมบูรณ์ของทารกได้ ดั้งนั้นการรับประทานอาหารให้ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่อย่างสมดุล ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเตรียมร่างกายให้พร้อม

ในระหว่างที่ตั้งครรภ์ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ อาหารที่ผ่านการปรุงแต่งมาก รวมถึงอาหารฟาสต์ฟูดส์ต่าง ๆ ควรเริ่มทำอาหารทานเอง เน้นผักและผลไม้ที่ล้างสะอาด รวมถึงควรทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ เท่านั้น

แพทย์มักจะให้กรดโฟลิค (folic acid) หรือวิตามินบี 9 แก่คุณแม่ โดยวิตามินตัวนี้ จะช่วยป้องกันทารกวิรูปหรือความพิการแต่กำเนิด ซึ่งบ่อยครั้งคุณแม่ก็จะได้รับวิตามินรวม (multivitamin) อื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อเสริมสร้างสุขภาพของคุณแม่ให้พร้อมที่สุด

สารอาหารบางชนิดที่ร่างกายของคุณแม่ต้องการเพิ่มขึ้น

  • แคลเซียม (calcium) ช่วยลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียมวลกระดูกในระหว่างตั้งครรภ์
  • ไอโอดีน (iodine) ลดความเสี่ยงต่อภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ซึ่งการขาดไอโอดีนในคุณแม่ อาจทำให้ทารกมีควรมผิดปกติในด้านการเจริญเติบโตและสติปัญญา
  • เหล็ก (iron) เป็นองค์ประกอบของเม็ดเลือด เป็นธาตุจำเป็นต่อการขนส่งก๊าซออกซิเจน ทั้งในคุณแม่และลูกน้อย

ตารางสรุปปริมาณสารอาหารที่คุณแม่ต้องการในระหว่างการตั้งครรภ์

ชื่อสารอาหาร ปริมาณที่ต้องการต่อวัน
กรดโฟลิค (folic acid) 400 ไมโครกรัม
วิตามินดี 400 ไอยู (IU)
แคลเซียม (calcium) 200 – 300 มิลลิกรัม
วิตามินซี (vitamin C) 70 มิลลิกรัม
ไทอามีนหรือวิตามินบี 1 (thiamine) 3 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวินหรือวิตามินบี 2 (riboflavin) 2 มิลลิกรัม
ไนอาซินหรือวิตามินบี 3 (niacin) 20 มิลลิกรัม
วิตามินบี 12 (vitamin B12) 6 ไมโครกรัม
วิตามินอี (vitamin E) 10 ไมโครกรัม
สังกะสี (zinc) 15 มิลลิกรัม
เหล็ก (iron) 17 มิลลิกรัม
ไอโอดีน (iodine) 150 ไมโครกรัม

ที่มา http://www.webmd.com/baby/guide/prenatal-vitamins#1

คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานอาหารเสริม ยา หรือสมุนไพรก่อนทุกครั้ง เพราะบางครั้งฤทธิ์หรือโทษของยาหรือสมุนไพรอาจอยู่นาน แม้ว่าคุณแม่จะหยุดทานไปแล้วก็ตาม ซึ่งอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ ยกตัวอย่างเช่น ยา isotretinoin ซึ่งเป็นกรดวิตามินเอ สำหรับรักษาสิว มีผลทำให้ทารกในครรภ์พิการแต่กำเนิดได้ และในระหว่างได้รับยานี้ จะต้องมีการคุมกำเนิดร่วมด้วย

ยาที่ต้องห้ามในระหว่างการตั้งครรภ์หรือต้องหยุดก่อนการตั้งครรภ์ (ยาในกลุ่ม category X)

  • Atorvastatin เป็นยาลดคอเลสเตอรอลในเลือด
  • Simvastatin เป็นยาลดคอเลสเตอรอลในเลือด
  • Warfarin เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • Methotrexate เป็นยาเคมีบำบัดและยากดภูมิคุ้มกัน

งดพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อสุขภาพของคุณแม่และลูกในครรภ์

ลักษณะนิสัยหรือไลฟ์สไตล์บางอย่าง อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของทารกตัวน้อยได้ ยกตัวอย่างเช่น การดื่มสุรา ไวน์ การดื่มกาแฟหนัก หรือการสูบบุหรี่ ถ้าคุณแม่มีพฤติกรรมดังกล่าว ควรต้องค่อย ๆ เริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองทีละนิด และอาจขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือโรงพยาบาลได้

นอกจากพฤติกรรมเสี่ยงของคุณแม่แล้ว พฤติกรรมบางอย่างของคนในครอบครัว โดยเฉพาะของคุณพ่อก็อาจส่งผลเสียได้เช่นกัน โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ ที่อาจทำให้คุณแม่และลูกน้อยกลายเป็นผู้สูบบุหรี่มือสองได้

นอกจากพฤติกรรมเสี่ยงแล้ว เรื่องของอารมณ์ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกในครรภ์ ถ้าคุณแม่มีความเครียดสูง หรือวิตกกังวล ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อแพทย์จะได้ประเมินและได้รับการบำบัด เนื่องจากการตั้งครรภ์อาจทำให้สิ่งเหล่านี้มีอาการรุนแรงขึ้น

การเริ่มเป็นคุณแม่ไม่ใช่เรื่องยก แต่การที่จะเป็นซุปเปอร์มัมส์ให้กับลูกน้อยนั้นยากกว่า สำหรับคุณแม่ทุกท่านที่เตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนการตั้งครรภ์ เชื่อได้ว่าลูกน้อยในครรภ์ต้องเป็นเด็กที่โชคดีที่สุด และเขาจะต้องมีสุขภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรงอย่างแน่นอน

ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้

Share
Tweet
Email
บทความก่อนหน้า

บทความที่เกี่ยวข้อง

pregnant ตั้งครรภ์ ท้อง คุณแม่ เด็ก
ยา เป็นเหม …
Drugs มิถุนายน 13, 2015

ยากับหญิงตั้งครรภ์

ตั้งครรภ์ ท้อง
สำหรับคุณแ …
Drugs มิถุนายน 23, 2015

กรดไหลย้อนกับการตั้งครรภ์

เกี่ยวกับผู้เขียน

Drugs

เกี่ยวกับเราและนโยบายของเรา

  • เกี่ยวกับเราและข้อมูลการติดต่อ (About & Contact)
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข (Terms & Conditions)
  • ข้อปฏิเสธความรับผิด (Disclaimer Policy)

ล่าสุด

  • ดีปลี สรรพคุณดีปลีมีอะไรบ้าง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และดีปลีในตำรายาไทย เมษายน 7, 2018
  • ยา eomeprazole ยา nexium คือยาอะไร วิธีใช้ยา ข้อควรระวัง อาการข้างเคียง เมษายน 7, 2018
  • ยา omeprazole ยา losec ยา miracid คือยาอะไร วิธีใช้ยา อาการข้างเคียง เมษายน 7, 2018
  • ขมิ้นชัน ผงขมิ้น ขมิ้นชันแคปซูล สรรพคุณขมิ้นชันมีอะไรบ้าง วิธีใช้ขมิ้นชัน เมษายน 5, 2018
  • ระบบย่อยอาหาร ระบบทางเดินอาหาร และโรคในทางเดินอาหารที่พบบ่อย มีนาคม 27, 2018

คลังเก็บ

  • เมษายน 2018
  • มีนาคม 2018
  • ธันวาคม 2017
  • พฤศจิกายน 2017
  • ตุลาคม 2017
  • สิงหาคม 2017
  • เมษายน 2017
  • มกราคม 2017
  • ธันวาคม 2016
  • ตุลาคม 2016
  • สิงหาคม 2016
  • กรกฎาคม 2016
  • พฤษภาคม 2016
  • เมษายน 2016
  • มีนาคม 2016
  • กุมภาพันธ์ 2016
  • กรกฎาคม 2015
  • มิถุนายน 2015

หมวดหมู่

  • การตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก
  • การลดน้ำหนัก
  • การออกกำลังกาย
  • ประกันภัย
  • ยารักษาโรค
  • สุขภาพผิวและความงาม
  • อาหารเสริมและสมุนไพร
  • โรคที่พบบ่อยและเคล็ดลับสุขภาพ

Meta

  • เข้าสู่ระบบ
  • Entries RSS
  • RSS ของความคิดเห็น
  • WordPress.org

Drugs.in.th

Copyright © 2018 Drugs.in.th
สงวนลิขสิทธิ์ © พุทธศักราช 2561 ณกรณ์ อยู่นิ่ม